top of page
images.png

VIENS MON COEUR

Recurring dream

Viens mon Coeur: Project

เกี่ยวกับบทเพลง

ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 มีคอนเสิร์ตอาเรียสำหรับ นักร้องโซปราโน ดับเบิลเบส และเปียโนเกิดขึ้น ประพันธ์โดย Giovanni Bottesini ทำการแสดงครั้งแรกที่ลอนดอน จากนั้นสำเนาเพลงที่ถูกบันทึกเอาไว้ด้วยลายมือก็ถูกส่งต่อผ่านนักดนตรีด้วยกัน ในยุคนั้นเพลงของ Bottesini เป็นที่ยอมรับ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนถือว่าเป็นหัวใจหลักสำคัญของ Solo repertoire ต่อเนื่องมาถึงในยุคปัจจุบัน 


บทเพลง Une Bouche Aimée นั้นแทบไม่เป็นที่รู้จัก แม้แต่ในหมู่ของนักดับเบิ้ลเบสเองก็ตาม จนเมื่อ Bottesini ได้ประพันธ์เพลง 'Tutto il mondo serra' สำหรับวงในรูปแบบเดียวกัน จึงทำให้บทเพลง 'Une Bouche Aimée' เริ่มได้รับความนิยมแพร่หลายขึ้น เนื่องจากมักถูกนำออกแสดงคู่กันสองบทเพลง

 
สำหรับบทเพลง 'Tutto il mondo serra' นี้ มีความยาวเพียงห้านาที แต่สามารถนำเสนอความสีสันของบทเพลงที่เต็มเปี่ยมไปด้วยกลิ่นอายความรุ่งโรจน์แห่งยุคโรแมนติกได้อย่างดีเยี่ยม พาร์ทของเสียงร้อง และ ดับเบิลเบส ถือว่าเป็นพาร์ทโซโล่ ที่มีหน้าที่อย่างเท่าเทียมกัน ส่วน พาร์ทของแอคคอมนั้นแม้จะเป็นเพียงแค่ฝ่ายสนับสนุนแต่ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากทำหน้าที่ในการให้จังหวะ และเป็นส่วนสำคัญในการรวบรวม ขับเคลื่อนและกำหนดทิศทางของบทเพลง 


ส่วนบทเพลง 'Une Bouche Aimée' นั้น พบว่าต้นฉบับของเพลงได้ถูกเก็บรักษาเอาไว้ที่ Bottesini collection ในเมืองปาร์มา โดยในต้นฉบับนั้นผู้ประพันธ์ไม่ได้กำหนดประเภทของเสียงร้องเอาไว้ รวมถึงไม่ได้กำหนดเครื่องดนตรีโซโล่ (เชลโล หรือดับเบิ้ลเบส)ด้วย หากแต่บันทึกไว้เพลงแค่ตัวบทเพลง และกวีภาษาฝรั่งเศษ


แต่ก็มีบางคนมีความเห็นต่างว่าบทเพลงนี้อาจไม่ได้ถูกประพันธ์โดย Bottesini เช่น David Heyes นักดับเบิลเบสชาวอังกฤษ ผู้ซึ่งบรรเลงบทเพลงชุดนี้มากว่า 30 ปีร่วมกับ Sarah Poole  นักร้องเสียงโซปราโนซึ่งเป็นภรรยาของเขาเอง โดย David ให้ความเห็นว่าบทเพลงนี้ดูไม่น่าจะใช่ผลงานการประพันธ์ของ Bottesini เนื่องจากลักษณะการประพันธ์ของพาร์ทดับเบิลเบส ไม่ค่อยเอื้อต่อการเล่นได้อย่างรู้สึกเป็นธรรมชาติตามลักษณะของเครื่องดนตรี แตกต่างจากเพลงโซโล่สำหรับดับเบิลเบสเพลงอื่นๆของ Bottesini ที่มักจะถูกประพันธ์ขึ้นมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ สอดคล้องกับลักษณะของเครื่องดนตรีเป็นอย่างดี

ต่อมาในช่วงเดือนกันยาของปี 2010 ได้มีการค้นพบบทเพลงสำหรับนักร้องโซปราโน เชลโล และเปียโน ประพันธ์ในช่วงปี 1871-2 ชื่อว่า 'My Beloved Spake' โดย Charles Gounod (1818-1893) ซึ่งเป็นบทเพลงเดียวกันกับเพลง 'Une Bouche Aimée' ของ Bottesini แต่ถูกบันทึกไว้ในคีย์ที่แตกต่างกัน โดย Gounod ได้ประพันธ์เพลงนี้เอาไว้ในช่วงที่เขาอยู่ที่ลอนดอน และถูกเผยแพร่ครั้งแรกที่ลอนดอนในปี 1873 โดยบริษัท Goddard & co. ที่ด้านหลังปกอัลบัมระบุชื่อเพลง 'My Beloved Spake' รวมไว้กับผลงานชิ้นอื่นๆที่ถูกประพันธ์ขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 1871 ถึง 31 ธันวาคม 1872 ของ Gounod จึงเป็นหลักฐานสำคัญที่อาจบอกได้ว่า เพลง 'Une Bouche Aimée' นั้นอาจไม่ใช่ผลงานดั้งเดิมของ Bottesini 

เหตุผลสนับสนุนที่สำคัญอีกอย่างก็คือ ภรรยาคนที่สองของ Bottesini เป็นนักร้องเสียงโซปราโน จึงอาจเป็นไปได้ว่า Bottesini เพียงแค่คัดลอกเพลงของ Gounod มาเพื่อเล่นกับภรรยาของเขาเท่านั้น แต่ไม่ใช่ผลงานการประพันธ์ของตัวเขาเอง

Viens mon Coeur: Headliner

VIENS MON COEUR

The Answers You Need

FRENCH

Une bouche aimée a dit à mon coeur:
“Viens, ô mon amour,

ô toi, mon seul bonheur.

Viens, ah! viens mon coeur,
ô toi, mon seul bonheur.

Adieu les tristes automnes.
Voici venir le printemps.
La terre se couvre de fleurs,
les rayons dorés ont tari ses pleurs.

Dans la feuille nouvelle

chante la tourterelle.
La sève des bourgeons entr’ouverts

du parfum des bois des prés verts

remplit les airs.

Mon cher amour, ma vie, ah! viens,

mon seul bonheur, mon amour,

mon bonheur.”

Une bouche aimée a dit à mon coeur:
“Viens, ô mon amour,

ô toi, mon seul bonheur.

Viens, ah! viens mon coeur,
ô toi, mon seul bonheur,
mon cher amour, ma vie.

Viens mon coeur.

Viens, ô mon seul bonheur,
Viens.”

ENGLISH

Beloved lips said to my heart:
“Come, O my love,

O thou, my only joy.

Come, ah, come, my heart,
O thou, my only joy.

Farewell sad autumns,
Here comes the spring.
The earth is covered with flowers,
the golden rays have dried her tears.
In the new foliage
sings the turtle-dove.
The sap of the half-opened buds
fills the air
with the scent of the woods and of the green meadows.

My dear love, my life, Ah! Come,

my only joy, my love, my joy.”

Beloved lips said to my heart:
“Come, O my love,

O thou, my only joy.

Come, ah, come, my heart,
O thou, my only joy,
my dear love, my life.

Come my heart. Come,

O my only joy,
Come.”

THAI

ปากนี้พูดแทนใจฉัน มาสิที่รัก

คุณคือความสุขเดียวของฉัน

มาสิ มา ที่รัก

โอ้ เพียงคุณเท่านั้น


ลาก่อนสายลมอันโศกเศร้า

ณ ขณะนี้เป็นเวลาอันอบอุ่นของฤดูใบไม้ผลิ

ผืนดินปกคลุมไปด้วยหมู่มวลดอกไม้

ละอองแสงใหม่สาดส่องลงมา ชะล้างรอยน้ำตาของเธอ

เหล่าไม้ผลิใบอีกครั้ง

นกพิราบร้องเพลงขับขาน

เหล่าแมกไม้ตื่นจากจำศีล

ค่อยๆคลี่ใบออกช้าๆ ทีละน้อย

กลิ่นอายของผืนป่า

กลิ่นหญ้าอ่อนๆหอมฟุ้งไปทั่วทุกหนแห่ง

ลอยไปทั่วในอากาศ


ที่รัก วิญญาณของฉัน โอ้ มาสิ

ความปรารถนาเดียวของฉัน ความรักของฉัน


ปากนี้พูดแทนใจฉัน มาสิที่รัก

คุณคือความสุขเดียวของฉัน

มาสิ มา ที่รัก

โอ้ เพียงคุณเท่านั้น

Viens mon Coeur: FAQ

ตีความบทเพลง

บทเพลง 'viens mon coeur' หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า 'My beloved spake' ประพันธ์โดย Charles Gounod ในช่วงปี 1871 ซึ่งเป็นบทเพลงเดียวกันกับ 'Une Bouche Aimée' ของ Bottesini โดยฉบับของ Gounod ซึ่งเชื่อว่าเป็นต้นฉบับนั้นอยู่ในคีย์  Ab Major ส่วนของ Bottesini อยู่ในคีย์ F Major และในการแสดงครั้งนี้เราจะได้ฟังเพลงนี้กันในเวอร์ชั่นต้นฉบับค่ะ

เพลงนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือท่อน A และท่อน B จากนั้นจึงย้อนกลับมาที่ท่อน A อีกครั้งก่อนจบบทเพลง โดยในท่อน A นั้นอยู่ในบันไดเสียงหลักของเพลง มีเนื้อหาพรรณนาถึงคนรัก ขอให้คนรักกลับมา เพราะเธอคือความสุขเดียวที่ฉันมี 

ต่อมาในท่อน B จะพบว่ามีการเปลี่ยนคีย์แทบจะทุกประโยคเพลง เสมือนเป็นการฉายภาพที่เปลี่ยนฉากไปเรื่อยๆด้วยความรวดเร็ว โดยนำเสนอสีสันที่สดใสของผืนป่าในฤดูใบไม้ผลิ ตามคำร้องที่กล่าวถึงการอำลาสายลมอันโศกเศร้าของฤดูใบไม้ร่วง พร้อมกับต้อนรับความชุ่มชื่นแห่งฤดูใบไม้ผลิ ตัวบทกวีพรรณนาถึงความสวยงาม และดอกไม้ ใบหญ้าที่เริ่มผลิใบใหม่ ฝูงนกและสัตว์ต่างๆเริ่มออกหากินอีกครั้ง ส่วนตัวดนตรีเองก็ทำหน้าที่สนับสนุนคำร้องได้เป็นอย่างดี แสดงสีสันและความมีชีวิตชีวาของผืนป่าด้วยการเปลี่ยนคีย์ไปด้วยเสียงที่สว่าง สดใส และอบอุ่นอยู่ในห้วงจินตนาการของหญิงสาว เสมือนจะเชิญชวนให้ชายคนรักกลับมาอยู่ด้วยกันในฤดูอันอบอุ่นนี้ แต่แล้วก็กลับนึกขึ้นได้ว่าเป็นเพียงจินตนาการของตนผู้เดียว ดนตรีจึงค่อยๆเปลี่ยนคีย์กลับไปสู่คีย์หลัก เพื่อโน้มนำให้กลับมาสู่โลกแห่งความเป็นจริงอีกครั้งในตอนท้ายของท่อน B ที่คำร้องพูดว่า 'เธอคือชีวิต คือความสุขเดียวของฉัน โปรดกลับมาเถอะ' จากนั้นจึงกลับเข้าสู่ท่อน A อีกครั้ง

ส่วนตัวผู้ร้องตีความว่าบทบาทของนักร้องโซปราโนคือผู้ดำเนินเรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องราวของตนเอง และดับเบิลเบส เป็นเสียงของชายคนรักที่โต้ตอบอยู่ในจินตนาการของหญิงสาว ในตอนจบของเพลงจะเห็นว่า โซปราโนไม่ได้จบที่โน้ต Ab ซึ่งเป็นโน้ตหลักของคีย์ แต่ลากโน้ตตัว C ยาว แล้วดับเบิลเบสจึงเล่นต่อจนไปจบที่โน้ต Ab ซึ่งเป็นโน้ตตั้งต้นของบทเพลง ตัวผู้ร้องจึงตีความว่า ในความสัมพันธ์ที่จบลงนี้ หญิงสาวยังคงคิดถึงอยู่ซำ้แล้วซ้ำเล่า จมอยู่กับอดีต จนไม่สามารถจบความสัมพันธ์ครั้งนี้เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้ ในขณะที่ชายคนรักของเธอนั้นจบความสัมพันธ์นี้ลงไปแล้ว อย่างไม่มีสิ่งใดค้างคาใจอีก

หากจะตีความบทเพลงนี้เป็นความฝัน ก็คงจะเป็นความฝันประเภท Recurring dream ที่มีลักษณะเป็นความฝันเกี่ยวกับเรื่องเดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมา อาจเกิดจากความกังวลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆในชีวิต หรืออาจเกิดจากความคิดที่หมกมุ่นต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากๆในขณะตื่น ทำให้เก็บมาฝันในตอนหลับได้ 

อย่างในเพลงก็จะเห็นว่าหญิงสาวยังมีความคิดถึง และโหยหาอดีตอยู่มาก หากว่านี่คือความฝัน ก็คงจะเกิดจากการคิดถึงซ้ำ ต่อสิ่งที่ไม่มีวันจะกลับมา ทำให้เก็บไปฝันในตอนหลับ ในความฝัน ก็มีแต่การร้องขอให้คนรักกลับมา ซ้ำๆ เหมือนกับในเพลงที่มักจะพบการพูดถึงคนรักเก่าว่า เธอเป็นชีวิต เป็นความสุขหนึ่งเดียว และพูดซ้ำๆว่าขอให้กลับมา

ทำให้เห็นว่า ชีวิตในยามตื่นและยามหลับนั้น สัมพันธ์กันมากกว่าที่เราจะคาดเดาได้ ในบางครั้งสิ่งที่เราฝัน เมื่อตื่นมาเราอาจจะคิดว่าเป็นแค่ความฝัน เป็นเรื่องเพ้อเจ้อ แต่บางครั้งถ้าลองคิดดูดีๆ ความฝันอาจจะกำลังบอกอะไรบางอย่างกับเราอยู่ก็เป็นได้ สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องลี้ลับ แต่เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นเหตุเป็นผล หาข้อพิสูจน์ได้ หากเราใส่ใจซักนิด เราอาจจะเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของตัวเองมากขึ้น ได้จากการทำความเข้าใจ ว่าสิ่งที่เราฝันนั้นมีเหตุมาจากอะไร เช่น อาจจะทำให้เรารู้ว่า เราหมกมุ่นกับเรื่องนี้มากไปแล้วนะ ควรจะเลิกคิดวนไปวนมาซ้ำๆได้แล้ว เมื่อคิดได้แบบนี้ก็จะเห็นว่ากลไกของสมองและจิตใจสัมพันธ์กันมาก ในยามตื่นจงใช้ชีวิตอย่างมีสติเสมอ และเรายังสามารถใช้ประโยชน์จากการนอนหลับ เพื่อพยามทำความเข้าใจว่าความฝันกำลังบอกอะไรกับเรา ซึ่งการเข้าใจในความฝันของตัวเองนี้ ก็เป็นตัวช่วยได้อย่างดีสำหรับการดำเนินชีวิตในยามตื่นได้อย่างมีสติขึ้นอีกด้วย


สำหรับในการแสดงรีไซทอลครั้งนี้ มีนักดับเบิลเบสรับเชิญ คือเจ ณัฐวุฒิ สังฆัสโร Principal Double Bass จากวง RBSO หรือวง Royal Bangkok Symphonic Oechestra มาร่วมบรรเลงด้วย มาชมกันเยอะๆนะค้า

Viens mon Coeur: Headliner

VIENS MON COEUR

Sotida Chairidchai   Soprano
Nattawut Sungkasaro   Double Bassist
Morakot Cherdchoo-ngarm  Pianist

Viens mon Coeur: Headliner
bottom of page