
JE VEUX VIVRE
Daydream
ROMEO AND JULIET
โรเมโอและจูเลียต (อังกฤษ: Romeo and Juliet) เป็นละครโศกนาฏกรรม
ประพันธ์โดย วิลเลียม เชกสเปียร์ แต่งในปี ค.ศ. 1595
เรื่องนี้เกิดขึ้น ณ เมืองเวโรนา ได้มี 2 ตระกูลใหญ่ คือ ตระกูลคาปุเล็ตและมอนตาคิวซึ่งไม่ถูกกันมาช้านาน เรื่องเริ่มขึ้นเมื่อโรเมโอแห่งตระกูลมอนตาคิวได้แอบแฝงกายเข้าไปในงานเลี้ยงของตระกูลคาปุเล็ตและได้พบกับจูเลียต เพียงทั้งคู่สบตากันทั้งคู่ก็ตกหลุมรักกัน แต่กลับมีอุปสรรคเพราะความบาดหมางกันของทั้ง 2 ตระกูล โรเมโอกับจูเลียตจึงได้จัดการแต่งงานกันอย่างลับ ๆ วันหนึ่งเมอร์คิวชิโอ เพื่อนรักของโรเมโอเกิดการทะเลาะกับญาติของจูเลียตและญาติของจูเลียตก็ได้ฆ่าเพื่อนรักของโรเมโอตาย โรเมโอโกรธมากจึงได้พลั้งมือฆ่าญาติของจูเลียตตาย โรเมโอจึงได้รับคำตัดสินให้เนรเทศออกนอกเมืองตลอดกาล ฝ่ายจูเลียตต้องแต่งงานกับเค้าท์ปารีสโดยที่จูเลียตไม่ต้องการ จูเลียตจึงพยายามหาทางที่จะหลีกหนีงานแต่งงาน เมื่อจูเลียตได้รู้เรื่องยาวิเศษที่ทำให้หลับเหมือนตายจากบาทหลวงที่ทำพิธีแต่งงานให้ทั้งคู่จึงกินเข้าไป จากนั้นบาทหลวงก็ส่งม้าเร็วส่งสารถึงแผนการดังกล่าวแก่โรมิโอ แต่โรเมโอสวนกับคนส่งสาร โรเมโอมาถึงเข้าใจว่าจูเลียตตายจริงๆ จึงเสียใจมากจึงดื่มยาพิษฆ่าตัวตาย โรเมโอสิ้นใจเพียงครู่เดียวจูเลียตก็ฟื้นขึ้นมา พอจูเลียตเห็นดังนั้นจึงใช้กริชของโรเมโอฆ่าตัวตายตามโรเมโอไป บิดามารดาและญาติทั้งสองตระกูลเสียใจมาก
จึงเลิกวิวาทบาดหมางกันนับแต่นั้นเป็นต้นมา
JE VEUX VIVRE (JULIET'S WALTZ)
from Act I of the French opera Roméo et Juliette by Charles-François Gounod
Libretto: Jules Barbier
based on Romeo and Juliet by William Shakespeare.
Role: Juliet, daughter of Capulet
Voice Part: soprano
Fach: lyric coloratura
Setting: The Capulet's ballroom, Verona, Italy, 14th century
Synopsis: When others speak of marriage to her,
Juliet sings that she would like to live inside her dream where it is eternally spring.
Range: Tessitura: C4 - D6E4 - A5
Translations/Aria Texts:
Translation into English by Robert Glaubitz (added 1998-08-12)
FRENCH
Je veux vivre
Dans le rêve qui m’enivre
Ce jour encore!
Douce flamme,
Je te garde dans mon âme
Comme un trésor!
Cette ivresse de jeunesse
Ne dure hélas! qu'un jour,
Puis vient l’heure
Oú l'on pleure,
Le coeur cède à l’amour,
Et le bonheur fuit sans retour!
Loin de l'hiver morose,
Laisse moi sommeiller,
Et respirer la rose,
Avant de l'effeuiller.
ENGLISH
I want to live
In the dream that exhilarates me
This day again!
Sweet flame,
I guard you in my soul
Like a treasure!
This rapture of youthfulness
Doesn't last, alas! but a day,
Then comes the hour
At which one cries,
The heart surrenders to love
And the happiness flies without returning
Far from a morose winter,
Let me slumber
And breath in the rose
Before it dies.
THAI
ฉันต้องการชีวิต
เหมือนในความฝันอันแสนเบิกบานใจ
เช่นวันนี้ อีกครั้ง
ดั่งเปลวเทียนอันสุกใสและหอมหวาน
ฉันจะประทับไว้แนบใจฉัน
เหมือนเช่นสมบัติล้ำค่า
ความเพลิดเพลินในวัยเยาว์นี้
อีกไม่นาน อนิจจา ซักวันหนึ่ง
หรืออีกเพียงชั่วยามเดียว
กลับโศกเศร้า
หัวใจต้อมยอมจำนนต่อความรักที่ผิดหวัง
ความสุขนั้นโบยบินไปตลอดกาล
ห่างไกลจากฤดูหนาวอันมืดมน
ได้หลบพักนอนหลับสบาย
ภายใต้ชีวิตชีวาของเหล่ากุหลาบ
ก่อนจะร่วงโรยไป
ตีความบทเพลงในแง่มุมของ "ความใฝ่ฝัน"
วิลเลี่ยม เชคสเปียร์ได้ประพันธ์ผลงานชิ้นนี้ขึ้นในปี 1595 โดยกำหนดเหตุการณ์ไว้ที่เมืองโรเวนา และ เมืองมันทัว ประเทศอิตาลี ย้อนกลับไปช่วงศตวรรตที่ 13 - 14 ซึ่งในยุคสมัยนั้น ตัวละครอย่างจูเลียต เด็กสาวผู้ซึ่งเกิดและเติบโตในตระกูลสูงศักดิ์ เธอเองก็มีชีวิตเช่นเดียวกับเด็กสาวจากตระกูลผู้ดีทั่วๆไปในสมัยนั้น คือถูกจำกัดสิทธิมากกว่าผู้ชาย และได้รับการดูแลไว้ภายในบ้าน รวมไปถึงการไม่ได้รับสิทธิต่างๆ เช่นการเลือกคู่ครอง การเลือกเส้นทางชีวิตของตนเอง เป็นต้น
สำหรับในฉบับอุปรากรของชาร์ล กูโนเองก็เช่นกัน เมื่อพี่เลี้ยงของเธอกับเค้าท์ปารีส (ผู้ซึ่งภายหลังมารดาของจูเลียตมั่นหมายจะให้แต่งงานกับจูเลียต) พูดถึงเรื่องการแต่งงานระหว่างงานเลี้ยงสังสรรค์ประจำตระกูล จูเลียตที่กำลังเพลิดเพลินกับงานเลี้ยงสังสรรค์ และแชมเปนรสเลิศจึงได้ร้องเพลงวอลซ์บทนี้ขึ้นมา โดยมีเนื้อหาพรรณนาถึงชีวิตที่ตนอยากมี ความสุข และความรักที่ปรารถนา
หากจะนำมาตีความในแง่ของความฝันก็จะพบว่ามีหลายแง่มุมซ่อนอยู่ในเหตุการณ์เดียว เช่นว่าถ้ามองในมุมของปฏิกิริยาที่สามารถอธิบายได้ทางวิทยาศาสตร์ ความฝันรูปแบบนี้ จะถูกจัดอยู่ในประเภทของการ"ฝันกลางวัน" หรือ
" Daydreams" ตามที่ได้ให้ข้อมูลไปในเบื้องต้น ว่าเป็นอาการเหม่อลอยเข้าสู่ภวังค์ของการเคลิบเคลิ้ม ลืมตัวชั่วขณะในตอนตื่น เหมือนถูกความคิดของตนเองครอบงำ จนบางครั้งไม่รับรู้สิ่งรอบตัวที่กำลังเป็นไป ซึ่งอาการนี้อาจเกิดขึ้นได้มากถึง 70 - 120 นาทีต่อวันเลยทีเดียว
หรือหากจะตีความเนื้อความที่จูเลียตร้อง ว่าเป็นความฝันในเชิงปรัชญาหรือที่เรียกว่า "ความใฝ่ฝัน"แล้ว ก็จะเห็นว่าผู้หญิงในยุคสมัยที่ไม่ได้มีบทบาทในการตัดสินใจเรื่องใดๆ หรือแม้แต่เรื่องของตัวเองเช่นจูเลียต จริงๆแล้วพวกเธอก็มีความฝันที่อยากใช้ชีวิตอิสระตามใจตัวเองเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นในตอนต้นของบทเพลงที่กล่าวว่า
"ฉันต้องการชีวิต เหมือนในความฝันอันแสนเบิกบานใจ"
ก็พอจะเดาได้ว่า จริงๆแล้ว ความฝันของเธอก็เป็นภาพสะท้อนของความทุกข์ใจ ความอึดอัดในชีวิตที่เป็นอยู่ไม่มากก็น้อย แม้ว่าจะถูกถ่ายทอดออกมาบทดนตรีวอลซ์ที่สนุกสนาน แต่เนื้อเพลงกลับกล่าวถึงปรัชญาชีวิต ความเป็นอนิจจัง และความสุขที่เธอฝันหา เหมือนกับว่าในความสนุกสนาน บางครั้งก็ไม่ได้ตรงไปตรงมาเท่าไหร่นัก
มักจะมีบางสิ่งซ่อนอยู่เสมอ บางสิ่งที่เป็นอีกมุมนึงของจิตใจ
บทเพลงวอลซ์ที่สนุกสนาน กลับเจืออยู่ด้วยภาพสะท้อนของชีวิตที่เพรียกหาอิสรภาพ
ดนตรี ชีวิต ความฝัน ความสุข ความโศกเศร้า
บางครั้งก็ปะปนกันอยู่จนยากที่จะแยกสารประกอบเหล่านี้จากกันได้อย่างหมดจด
และสิ่งเหล่านี้เอง ก็คือสารประกอบ ที่สร้าง "ตัวตน"
ให้เรามีความเป็นเรา มิใช่ผู้อื่น
ให้บุคคล แต่ละคนมีหน้าที่ และ ภาระต่อโลกที่แตกต่างกันออกไป
JE VEUX VIVRE
Sotida Chairidchai Soprano
Morakot Cherdchoo-ngarm Pianist