top of page
Unknown.jpeg

RELATED RESEARCH

        เภสัชกรพงศ์ปกรณ์ พิชิตฉัตรธนา ผู้เชี่ยวชาญด้านการสั่งจิตใต้สำนึก อธิบายให้ฟังว่า“ส่วนที่บอกว่ามีกระบวนการบำบัดหรือการปลดล็อกอะไรบางอย่างเกิดขึ้นในความฝัน เป็นเพราะว่า ช่วงที่เรานอนหลับเป็นช่วงที่จิตใต้สำนึกทำงานอย่างอิสระ ดังนั้นข้อมูลหรือปมบางอย่างที่เก็บอยู่ในจิตใต้สำนึกก็อาจแสดงตัวออกมาได้ แต่ในชีวิตประจำวัน เราไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลส่วนนี้ เพราะเป็นข้อมูลที่เก็บอยู่ในส่วนของจิตใต้สำนึกซึ่งเป็นจิตส่วนที่ลึกมาก และถูกจิตสำนึกบดบังอยู่ ในขณะที่เราใช้ชีวิตประจำวัน จิตสำนึกจะคอยกระตุ้นให้เราทำงาน แก้ปัญหานั่นนู่นนี่ มีความกดดัน ฯลฯ เราจึงไม่มีโอกาสรับรู้ข้อมูลเหล่านี้”

สำหรับในส่วนนี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงกันระหว่างงานวิจัยของหลายๆคน กับงานของตัวเอง

Related Research: Projects

เราจดจำข้อมูลได้ดีขึ้นหลังจากที่ได้นอนหลับ เราตื่นขึ้นมาแล้วสามารถแก้ปัญหาได้ดีขึ้น

Related Research: Headliner

TRANCE

(ทรานซฺ) n.,vt. (ทำให้เกิด) ความมึนงง,ความมึนตึง,สภาพจิตของคนเข้าฌาณหรือทรงเจ้า,จิตในภวังค์,อาการง่วงหลับ,อาการไม่รู้สึกตัว., See also: trancedly adv., Syn. dream,daze

Sanhyang (lord,god) เป็นพิธีกรรมเพื่อเข้าสู่ภวังค์ของชาวบาหลี เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาวะของจิตใจด้วยสิ่งเร้าต่างๆ เช่น กลิ่นธูป เครื่องหอม กำยาน เสียงดนตรี บทสวดภาวนา หรือการใช้สมุนไพรเป็นต้น มีนักบวชในการดำเนินพิธี เชื่อว่าเมื่อผู้ใดเข้าสู่สภาวะนี้แล้ว จะสามารถติดต่อกับโลกแห่งวิญญาณ หรือพระเจ้าได้ ส่วนมากมักพบในรูปแบบของการมีวิญญาณสัตว์มาเข้าสิง เหมือนอย่างเช่นที่พบเจอได้ทั่วไปในประเทศแถบเอเชีย โดยความเชื่อก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามพื้นถิ่นต่างๆ ส่วนมากพบตามหมู่บ้านห่างไกล โดยในสมัยนี้ บางครั้งกลายเป็นการแสดงเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกด้วย


ในบาหลี ผู้ชายจะถูกเข้าสิงด้วยวิญญาณสัตว์ ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญ หรือได้รับการยกย่องบูชาตามพื้อนถิ่นนั้นๆ เช่นในหมูบ้าน Jaran เมื่อผู้ใดเข้าสู่ภวังค์ก็จะถูกวิญญาณของม้าสิง โดยคนที่ถูกสิงก็จะมีท่าทางเหมือนกับม้าด้วย ส่วนในหมู่บ้าน Lelipi จะถูกเข้าสิงด้วยงู และในหมู่บ้าน Celeng จะถูกเข้าสิงด้วยหมู และจะสามารถออกจากภวังค์นี้ได้ โดยการให้นักบวชสาดน้ำมนต์ใส่


ส่วนในผู้หญิงจะมี Sanhyang dedari (fairy) ซึ่งเป็น sanhyang ที่เชื่อว่างดงามที่สุด ถูกแสดงโดยเด็กสาวที่ยังไม่เข้าวัยเจริญพันธุ์ โดยส่วนมากจะเป็นเด็กที่มีความเกี่ยวข้องกับวัด เป็นเด็กวัด หรือลูกหลานคนในวัด และจะต้องไม่เคยผ่านการเรียนเต้นรำใดๆมาก่อน เมื่อเข้าสู่สภาวะภวังค์แล้ว จะเต้นรำด้วยท่วงท่าที่อ่อนช้อย วิจิตรพิศดาร มีการใช้ท่าทางเลียนแบบสัตว์ และจะถูกผู้ชายสองคนยกตัวขึ้นให้ลอยจากพื้นเหมือนกับนางฟ้า โดยผู้ชายสองคนจะนำเด็กที่เต้นรำอยู่นี้ไปวางที่กองถ่านจุดไฟ เชื่อว่าเป็นการถูกเข้าสิงจากนางไม้ ต่อมา sanhyang dedari ได้กลายมาเป็นต้นแบบของ Classical legong

Related Research: Headliner

        เภสัชกรพงศ์ปกรณ์ พิชิตฉัตรธนา ผู้เชี่ยวชาญด้านการสั่งจิตใต้สำนึก อธิบายให้ฟังว่า“ส่วนที่บอกว่ามีกระบวนการบำบัดหรือการปลดล็อกอะไรบางอย่างเกิดขึ้นในความฝัน เป็นเพราะว่า ช่วงที่เรานอนหลับเป็นช่วงที่จิตใต้สำนึกทำงานอย่างอิสระ ดังนั้นข้อมูลหรือปมบางอย่างที่เก็บอยู่ในจิตใต้สำนึกก็อาจแสดงตัวออกมาได้ แต่ในชีวิตประจำวัน เราไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลส่วนนี้ เพราะเป็นข้อมูลที่เก็บอยู่ในส่วนของจิตใต้สำนึกซึ่งเป็นจิตส่วนที่ลึกมาก และถูกจิตสำนึกบดบังอยู่ ในขณะที่เราใช้ชีวิตประจำวัน จิตสำนึกจะคอยกระตุ้นให้เราทำงาน แก้ปัญหานั่นนู่นนี่ มีความกดดัน ฯลฯ เราจึงไม่มีโอกาสรับรู้ข้อมูลเหล่านี้”

Related Research: Headliner
22309992-moon-clouds-and-stars-sweet-dre

LUCID DREAM

Lucid lu·cid {original : Latin}

adjective: lucid

synonyms:    intelligible, comprehensible, understandable, cogent, coherent, articulate; More
clear, transparent;
plain, simple, vivid, sharp, straightforward, PSYCHOLOGY
(of a dream) experienced with the dreamer feeling awake, aware of dreaming, and able to control events consciously.

Lucid dream คือฝันอะไรก็ตามที่เรารู้สึกตัวว่าเรากำลังฝันอยู่ การรู้ตัวนี้ทำให้กลไกของจิตสำนึกทำงานในความฝัน และทำให้สามทรถทำเรื่องที่เกินขีดจำกัดความสามารถของมนุษย์ได้ เช่นการข้ามเวลา หรือการเผชิญหน้ากับความกลัวในชีวิตปัจจุบันได้ โดยเราจะรับรู้ทุกประสาทสัมผัสเหมือนกับชีวิตในตอนกลางวัน

       Lucid dream เป็นสภาวะที่สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ มีการเก็บตัวอย่างมากมายเพื่อ้างถึงการมีอยู่ของสภาวะนี้ รวมถึงสามารถใช้อธิบายเหตุการที่วิทยาศาสตร์เมื่อก่อนยังไม่สามารถอธิบายได้ เช่นการถอดจิต การพบเอเลี่ยนเป็นต้น โดยการริเริ่มพิสูจน์สภาวะ lucid dream เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1974 ที่ประเทศอังกฤษ โดย Keith Hearne นัก Parapsychologist โดยการบันทึกการเคลื่อนไหวของลูกตาจากอาสาสมัครตัวอย่างชื่อ Alan Worsly ด้วยคลื่น electro-oculogram (EOG) ซึ่งเป็นครั้งแรกในการทดลองปฏิกิริยาการสื่อสารระหว่างโลกภายนอกกับคนที่นอนอยู่

       ต่อมาในปี 2008 Neurological Laboratory Frankfurt ทำการทดลองเดียวกันนี้และชี้ให้เห็นว่าสมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในสภาวะ lucid dream จากการที่คลื่น EEG อยู่ที่ความถี่ 40 Hz (Gamma)

          Lucid dream เป็นสภาวะที่เกี่ยวข้องกับจิตสำนึก สมองส่วนที่ใช้ในการฝันนี้ยังเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้อกับการพัฒนาภาษา รวมไปถึงการควบคุมสติและสภาวะทางอารมณ์และจิตใจอีกด้วย

          ในปี 2014 Frankfurt University สามารถสร้าง lucid dream ได้ โดยการใช้ “zaps” ซึ่งเป็นคลื่นกระแสไฟฟ้าปล่อยไปที่สมองส่วนหน้าในตอนหลับ ผลลัพธ์ที่ได้คือ ผู้ได้รับการทดลอง 100% บอกว่าพวกเขารู้สึกตัวระหว่างฝัน

          มีความเป็นไปได้ว่าเราจะสามารถคุยกับตัวตนอื่นๆในตัวเราได้ผ่าน lucid dream และ lucid dream ยังสามารถใช้เพื่อเยียวยา ฟื้นฟูสภาพจิตใจได้อีกด้วย เช่น ใช้เพื่อช่วยให้ทหารคลายจากความตื่นกลัวหลังสงคราม ใช้บำบัดเด็กให้หายจากโรค Phobia ต่างๆ เป็นต้น


       ในปี 2008 คนกว่า 25 ล้านคนเริ่มสนใจในศาสตร์ของการบังคับความฝัน ทำให้มีการคิดค้นวิธีฝึกเพื่อเข้าสู่สภาวะ lucid dream หลักๆอยู่ 7 แบบด้วยกัน


  1. Use Hypnagogia คือการหลับตาแล้วเห็นสีหรือ pattern ต่างๆเพื่อข้ามไปสู่ lucid dream

  2. Manipulate REM sleep หลับให้ลึกเพื่อ lucid dream ได้ง่ายขึ้น

  3. Go wild เป็นวิธีที่ยากที่สุด คือหลับตาแล้วเข้าสภาวะ lucid ได้เลย

  4. Use sleep paralysis as a spring board จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะ REM atonia คือสภาวะพิเศษที่ทำให้ร่างกายเราขยับไม่ได้ คนไทยเรียกผีอำ

  5. Explore supplements (oneirogen) ใช้ยาหรือสารสร้างความฝัน หรือสมุนไพรก็ได้

  6. Listen to brainwave audio ฟังคลื่นเสียงเพื่อให้สมองปรับคลื่นความถี่ ช่วยให้เข้าสู่สภาวะ lucid ง่ายขึ้น

  7. Try divice ใช้อุปกรณ์ใส่หัวกับกำไลบังคับส่งคลื่นสัญญาณ EEG ไปที่สมอง

Related Research: Headliner

Jean-Luc Nancy นักปรัชญาฝรั่งเศสกล่าวไว้ว่า ความฝันเป็นเวลาที่ทำให้เราได้ค้นพบ ได้สัมผัสกับโลก ทำให้เรามีโอกาสที่จะเข้าถึงมิติอื่นๆ หรือความที่อาจจะเป็นจริงทั้งหลาย

Related Research: Headliner
dream_1.jpg

DREAM-INSPIRED WORK

จากข้อมูลที่ผ่านมาในข้างต้นที่กล่าวว่า ความฝันมีอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์มากเพียงใด ผู้วิจัยจึงได้นำข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลงานต่างๆ ที่เกิดขึ้นในความฝันแล้วถูกนำมาถ่ายทอดในชีวิตจริง รวมถึงผลงานที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความฝันของศิลปิน คนดัง และผู้มีชื่อเสียงต่างๆ โดยอ้างอิงจากงานวิจัยชื่อ PHILOSOPHY AND SCIENCE OF DREAMS
THE INTERFACE BETWEEN TWO SEEMINGLY ANTITHETICAL APPROACHES โดย Sakiba Khan มหาวิทยาลัย THE PENNSYLVANIA STATE UNIVERSITY SCHREYER HONORS COLLEGE โดยจะยกตัวอย่างในส่วนที่มีความใกล้เคียงกับงานวิจัยของตนเอง ประกอบกับข้อคิดเห็นของตนเองเสริมเข้าไปจากตัวอย่างต่างๆต่อไปนี้ด้วย

Related Research: Headliner
Related Research: Projects
Picture1.jpg

"FRANKENSTEIN"
MARY SHELLEY

Dreams are not always a collage of nonsensical images incongruously meshed together—a few major scientific discoveries and some classical tales were formed a posteriori to dreams. In the 1800s, one teenager dreamt of “a hideous phantasm of a man stretched out,” and later, “on the working of some powerful engine which showed signs of life and stirred with an uneasy, half vital motion” (Shelley Intro.). Soon after, the dreamer Mary Shelley wrote the international bestseller Frankenstein. Shelley stated in her book that “if I could only contrive one [story] which would frighten my reader as I myself had been frightened that night. On the morrow I announced that I had thought of a story. I began that day with the words, 'It was on a dreary night of November', making only a transcript of the grim terrors of my waking dream” (Intro.).

ทุกคนมีความฝัน ทั้งฝันตอนนอน และความฝันในความหมายของการมีเป้าหมายบางอย่าง แต่ไม่ใช่ทุกคนให้ความสำคัญกับความฝันในตอนนอนหลับ และไม่ใช่ทุกคนที่สามารถอธิบายความฝันนั้นออกมาได้อย่างสมบูรณ์ วิธีที่แต่ละคนใช้อธิบายความฝันก็แตกต่างกันออกไปตามความถนัดของแต่ละคนอีกด้วย เช่นในกรณีนี้ ความฝัน ถูกนำมาอธิบายผ่านงานเขียน ออกมาเป็นนวนิยายคลาสสิคที่โด่งดังอย่างมาก รวมถึงการพยามบันทึกความฝันของตนเองออกมาเป็นเรื่องเล่า ให้เหมือนกับว่า ความฝันนั้นมีชีวิตขึ้นมาได้จริง แต่ผู้เขียนเองก็ยังกล่าวว่า เป็นเรื่องยากที่จะอธิบายและบรรยายออกมาให้ใกล้เคียงกับความฝันมากที่สุด 


บางครั้งความฝันก็ยากจะอธิบายเป็นภาษาพูด

มีแต่เราเท่านั้นที่รู้สึกถึง และเข้าใจมันอย่างแท้จริง

bottom of page