top of page

  

"Caro nome"

From Verdi's opera "Rigoletto"

154518705a5844bc78142f71e0553089-1.jpg
"Caro nome": Projects

Rigoletto
(ริโกเลตโต)

Rigoletto is an opera in three acts by Giuseppe Verdi.

The Italian libretto by Francesco Maria Piave 

based on the play Le roi s'amuse by Victor Hugo.

Rigoletto is set in Mantua, Italy, in the 16th century.

- Count Monterone (เคาท์มอนเตอโรเน่) - Baritone

- Duke of Mantua (ดยุกแห่งอาณาจักรมันตัวร์) - Tenor

- Gilda (จิลด้า) - Soprano

- Maddalena (มักดาเลนา) - Contralto

- Rigoletto (ริโกเลตโต เจ้าหลังค่อม) - Baritone

- Sparafucile (สปาราฟูชิเล) -Bass

"ริโกเลตโต" ตัวตลกหลังค่อมแห่งอาณาจักรมันตัวร์ (Mantua) ผู้คอยสร้างความสนุกสนานให้แก่

ดยุกด้วยการล้อเลียนเหล่าบรรดาขุนนางในราชสำนักให้เกิดความอับอาย ซึ่งเป็นที่ขบขัน 

และน่าพอใจอย่างมากแก่ดยุก และแน่นอนว่าเหล่าบรรดาขุนนางก็มิได้พอใจกับมุขตลกของเจ้าหลังค่อมเช่นกัน 

ดยุกเป็นบุรุษผู้มีสเน่ห์ เป็นที่ต้องตาต้องใจแก่สาวน้อยสาวใหญ่ทั่วทั้งเมือง ตัวเขาเองก็เจ้าชู้ไม่เบา เด็ดดอกไม้ริมทางมาดอมดมแล้วทิ้งเป็นว่าเล่น และในตอนนี้ สายตาของดยุกก็จับจ้องไปที่สาวน้อยนางหนึ่ง ผู้ซึ่งจะผ่านมาส่งรอยยิ้มเขินอายให้แก่เขาในทุกวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นเวลาที่สาวน้อยตั้งใจมาเข้าโบสถ์เป็นกิจวัตร ดยุกก็ตั้งใจไว้ว่า ซักวันหนึ่ง จะต้องได้สาวน้อยผู้นี้มาเป็นของตน โดยไม่รู้เลยว่า เธอผู้นี้ ชื่อว่าจิลด้า (Gilda) เป็นลูกสาวสุดรักสุดหวงของเจ้าหลังค่อม ตัวตลกของเขานั่นเอง 

อยู่มาวันหนึ่ง ดยุกได้ล่อลวงลูกสาวของเคาท์มอนเตโรเน่ (Count Monterone) ไป ทำให้เคาท์มอนเตโรเน่โกรธมาก จึงเดินทางมาที่วังมันตัวร์เพื่อต่อว่าดยุก เจ้าหลังค่อมก็ทำหน้าที่ล้อเลียนเรื่องความโกรธของเคาท์มอนเตโรเน่ตามเคย ซึ่งเป็นที่พอใจแก่ดยุกอย่างมาก ทำให้เคาท์ยิ่งโกรธมากขึ้น ถึงขั้นสาปแช่งแก่เจ้าหลังค่อม และดยุกก่อนเดินทางกลับ 

เหล่าบรรดาขุนนางเริ่มสังเกตุเห็นว่ามีหญิงสาว (ซึ่งก็คือจิลด้าผู้เป็นลูกสาว) อาศัยอยู่อย่างลับๆกับเจ้าหลังค่อม จึงคิดว่าเป็นภรรยา และอยากแกล้งให้เจ้าหลังค่อมได้อับอายบ้าง จึงลักพาตัวจิลด้า ไปให้  ดยุกถึงห้องนอน โดยที่เธอก็ไม่ได้ขัดขืนแต่อย่างใด เมื่อเจ้าหลังค่อมรู้ จึงเปิดเผยต่อราชสำนักว่า     จิลด้าเป็นลูกสาว ทำให้คนในราชสำนักสะใจที่ได้แก้แค้นเจ้าหลังค่อม

เจ้าหลังค่อมแค้นใจที่โดนกลั่นแกล้ง จึงไปติดต่อนักฆ่าชื่อ สปาราฟูชิเล (Sparafucile) และน้องสาวของเขา ชื่อมักดาเลนา (Maddalena) ให้ล่อลวงดยุกไปฆ่าเพื่อแก้แค้น โดยใช้ความสวยของ              มักดาเลนาหลอกล่อดยุกมาที่กระท่อมของสปาราฟูชิเล ระหว่างนั้นเจ้าหลังค่อมก็พาลูกสาวไปยืนดูเพื่อให้เห็นว่าดยุกไม่ใช่คนที่มีความมั่นคงต่อเธอ จิลด้ามองผ่านหน้าต่างเข้าไป เห็นดยุกอยู่กับมักดาเลนาก็รู้สึกเสียใจมาก จากนั้นเจ้าหลังค่อมก็ให้จิลด้าปลอมตัวเป็นผู้ชายแล้วเดินกลับบ้านไปก่อน แต่จิลด้าไม่ยอมกลับบ้าน เธอเดินอ้อมไปอีกฝั่งของกระท่อม จนได้ยินพ่อคุยกับสปาราฟูชิเลถึงแผนการฆ่าดยุก และได้ยินมักดาเลนาขอร้องพี่ชายของเธอไม่ให้ฆ่าดยุก แต่ให้ฆ่าคนแรกที่เดินผ่านเข้าประตูมาแทน   จิลด้าจึงเดินเข้าไปในกระท่อม และโดนแทงด้วยมีดจนเกือบตาย สปาราฟูชิเลใช้พรมห่อร่างของจิลด้าใส่เรือแล้วลอยไปที่หน้าของเจ้าหลังค่อม 

เมื่อเรือมาถึงหน้าบ้าน เจ้าหลังค่อมก็พายเรือออกไปกลางแม่น้ำเพื่อทิ้งศพ ทันใดนั้นก็ได้ยินเสียงของ  ดยุกร้องเพลงอยู่ไกลๆ เจ้าหลังค่อมจึงเปิดพรมดู และพบว่าข้างในนั้นคือลูกสาวของตัวเอง เจ้าหลังค่อมตกใจมาก สุดท้ายจิลด้าก็ตายในอ้อมกอดของพ่อ ก่อนตายเธอพูดกับพ่อของเธอว่า สุดท้ายคำสาปก็เกิดขึ้น และจากไปแล้ว

"Caro nome": About

Background

A Story Steeped in Sound

Unknown.jpeg

ในเดือนเมษายน ปีคศ.1850 แวร์ดี (Giuseppe Fortunino Francesco Verdi  10 October 1813 – 27 January 1901) ถูกจ้างให้แต่งอุปรากรเรื่องใหม่ โดย La Fenice in Venice เขาจึงปรึกษากับ Francesco Maria Piave นักแต่งบทคู่ใจ ว่าจะเลือกงานเขียนของใครมาเป็นพลอตเรื่องใหม่ จนไปเจอกับผลงานของ วิคเตอร์ ฮูโก (Victor Hugo) ชื่อเรื่อง Le Roi s’amuse แต่ปัญหาของการนำเรื่องนี้มาทำอุปรากรคือการปรับบทละครให้ผ่านการตรวจสอบของทางการออสเตรีย (ระหว่างนั้นเวนิสอยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย) เพื่อสามารถนำออกแสดงสู่สาธารณะได้ เนื่องจากนิยายเรื่องนี้มีเนื้อหาล้อเลียนชนชั้นสูง โดยแวร์ดีได้ทำการปรับบทละครให้ดยุกแห่งมันตัวร์ (ในต้นฉบับตัวละครนี้มีต้นแบบมาจากกษัตริย์ฝรั่งเศษ)  ซึ่งเป็นตัวร้ายของเรื่องไม่โดนลงโทษในตอนจบ ทำให้บทละครผ่านการอนุมัติให้นำออกแสดงได้

ในตอนแรก แวร์ดีตั้งชื่ออุปรากรเรื่องนี้ไว้ว่า  La maledizione หรือ The curse แล้วจึงค่อยเปลี่ยนมาเป็น Rigoletto ภายหลัง ซึ่งชื่อนี้ก็ได้มาจากนิยายอีกเรื่องของฮูโกเช่นกัน 

"Caro nome": About

Caro nome

From Verdi's opera "Rigoletto"

Italian

Gualtier Maldè...nome di lui sì amato
 Ti scolpisciti nel core innamorato!


Caro nome che il mio cor 
festi primo palpitar,  
le delizie dell'amor
mi dêi sempre rammentar!
Col pensiero il mio desir
a te ognora volerà,
e pur l' ultimo sospir,
caro nome, tuo sarà.u want to highlight on your site. Have a lot to say? Easily turn any item into a full page by clicking ‘Create a page from this item’ in the edit panel.

English

Gualtier Maldè... name of my beloved,
Brand this loving heart! 

Sweet name, you who made my heart
throb for the first time,
you must always remind me
the pleasures of love!
My desire will fly to you
on the wings of thought
and my last breath
will be yours, my beloved.

Thai

กวัลทิแยร์ มาล์เด... ชื่อสุดที่รักของฉัน

ประทับตราตรึงในหัวใจฉัน

ชื่อแสนไพเราะของเธอทำให้หัวใจของฉัน

เต้นระรัวตั้งแต่แรกพบ

เธอทำให้ฉันคิดถึงเธอทุกเวลา

เจ้าความรักของฉัน

ความปรารถนาของฉันเอาแต่โบยบินไปอยู่ที่เธอ

และลมหายใจสุดท้ายของฉัน

ก็มีเพียงแต่เธอ สุดที่รัก

"Caro nome": List
15 Top Selling Benjamin Moore Paint Colo

The Commonality

บทอาเรีย Caro nome ถูกจัดว่าเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงชิ้นหนึ่งของแวร์ดี เป็นบทอาเรียที่ถูกนำมาแสดงและใช้ในการแข่งขันต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นบทเพลงที่มีความไพเราะ และใช้เทคนิคในการร้องอย่างหลากหลาย จึงถูกจัดว่าเป็นบทอาเรียบทหนึ่งที่ควรฝึกหัดสำหรับนักร้องเสียงโซปราโน

 The Commonality เกี่ยวกับบทเพลงนี้ จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการร้องที่เปลี่ยนผ่านมาตามยุคสมัย เนื่องด้วยผู้วิจัยมีความสงสัยว่า เหตุใด บทเพลง ๆ เดียวกัน จึงถูกขับร้องด้วยเทคนิคที่หลากหลาย มีข้อสันนิษฐานว่า อาจมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของเวลาที่เปลี่ยนไป ทำให้ความนิยมเปลี่ยน เสียงที่ผู้คนอยากได้ยินก็เปลี่ยนไปด้วย หรืออาจเป็นเพราะการพัตนาของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม ทำให้มีผลกระทบต่อเทคนิคการร้อง เนื่องจากการร้องเพลงคลาสสิค และการแสดงอุปรากรนั้น เป็นการขับร้องโดยไม่ใช้อุปกรณ์การขยายเสียงอย่างไมโครโฟนเป็นตัวช่วย 

อีกข้อสันนิษฐานที่ผู้วิจัยเล็งเห็นว่าอาจเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เทคนิคการร้องเปลี่ยนไปนั้น อาจเป็นเพราะในสมัยก่อนยังไม่มีระบบการอัดเสียงที่ทำให้ได้คุณภาพ และรายละเอียดของเสียงที่ครบถ้วน ใกล้เคียงกับความจริงได้เท่าที่ควร ทำให้ไม่มีตัวอย่างเสียงร้องจากในอดีตที่สามารถนำมาเป็นต้นแบบในการฝึกหัดร้องได้ จะมีก็แต่ตำรา ที่นักร้องรุ่นเก่าๆเขียนเอาไว้ ซึ่งการอธิบายเทคนิคการร้องนั้น บางท่านก็ไม่ได้อธิบายด้วยศัทย์เกี่ยวกับสรีรวิทยา แต่อธิบายจากความรู้สึกของตนเอง ทำให้แต่ละคนที่อ่าน สามารถตีความออกไปได้หลากหลาย และค่อยๆผิดเพี้ยนไปเรื่อย ๆ จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เทคนิคการร้องค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา 

สำหรับตัวผู้วิจัย ต้องการศึกษาเทคนิคการร้องเพลงนี้ที่แตกต่างกัน จากหลากหลายตัวอย่าง หลากหลายช่วงเวลา เพื่อหาสิ่งที่เหมาะกับตัวเองที่สุด และหวังว่าจะได้ความเข้าใจ ข้อสังเกตุ ความแตกต่าง และรายละเอียดต่างๆในการฟัง วิเคราะห์เหตุและผลจากความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เพื่อนำกระบวนการความคิดนี้ ไปปรับใช้ได้กับเรื่องอื่น ๆ ในอนาคตต่อไปได้ 

ในขั้นเริ่มต้นของการทดลอง เริ่มจากเข้าใจธรรมชาติของเสียงตัวเองเป็นอย่างแรก ซึ่งก็คือ coloratura soprano (coloratura มาจากภาษาอิตาลี แปลตรงตัวว่าเต็มไปด้วยสีสัน) เป็นการแบ่งประเภทตามลักษณะของเสียงที่มีความคล่องตัวสูงกว่าเสียงประเภทอื่นๆ มักจะมีระดับเสียงที่กว้างกว่าเสียงโซปราโนแบบอื่นๆ รวมไปถึงการมีลักษณะสีของเสียงที่ค่อนข้างสว่าง ทำให้บทเพลงที่แต่งให้สำหรับเสียงแบบนี้ มักจะเป็นบทเพลงที่มีระดับเสียงกว้าง และมีเทคนิคเฉพาะในการร้องโน้ตถี่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว (running passages, staccati และ trills) เมื่อทราบถึงลักษณะเสียงตนเองแล้ว ผู้วิจัยจึงเลือกศึกษานักร้องเสียง Coloratora soprano หลายคน จนพบกับคนที่ตัวเองชอบที่สุด และจะเลือกมาเป็นต้นแบบในการฝึกหัดศึกษาต่อไป ซึ่งก็คือ ลุอิซา เตตราซซินี (Luisa Tetrazzini) (born June 29, 1871, Florence, Italy—died April 28, 1940, Milan) นักร้องเสียงโซปราโนชาวอิตาลีผู้โด่งดัง และเป็นเลิศในด้านเทคนิค ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาวิธีการร้องจากคลิปเสียง และหนังสือของเตตราซซินี ซึ่งบันทึกวิธีการร้องของตัวเขาเองเพื่อถ่ายทอดให้แก่คนรุ่นหลัง เพื่อนำไปฝึกฝน ทำความเข้าใจ และปรับใช้กับการร้องของตนเอง

"Caro nome": About
LuisaTetrazzini.jpg

Luisa Tetrazzini

เตตราซซินีเรียนร้องเพลงกับพี่สาวของเธอ ชื่อ เอวา (Eva Tetrazzini 1862–1938) ซึ่งเป็นนักร้องเสียง coloratura soprano เช่นกัน โดยพี่สาวของเธอเป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงมากในตอนนั้น เตตราซซินีมีพี่สาวของเธอเป็นต้นแบบ และอยากเดินตามเส้นทางของพี่สาว แต่พ่อของเธอไม่เห็นด้วย เพราะเชื่อว่าบ้านเรามีนักร้องแค่คนเดียวนั้นเพียงพอแล้ว

แต่เธอก็ไม่ได้ละทิ้งความฝันของเธอ จนในที่สุด พ่อก็อนุญาตให้เธอเป็นนักร้องในที่สุด และส่งเธอไปเรียนกับอาจารย์ Coccherani แต่หลังจากเรียนได้เพียงหกเดือน อาจารย์ก็บอกกับเธอว่าไม่มีอะไรจะต้องแก้ไขอีกแล้วสำหรับเธอ เธอพร้อมแล้วที่จะเริ่มทำงานเป็นนักร้องอาชีพ หลังจากนั้นไม่นานเตตราซซินีก็กลายเป็นนักร้องที่โด่งดัง

และประสบความสำเร็จอย่างมากในวงการ


ในตอนนั้น ยังมีนักร้องผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และเป็นตำนานมาจนถึงทุกวันนี้อีกคน ก็คือคารูโซ (Enrico Caruso 25 February 1873 – 2 August 1921) ทั้งสองคนกลายเป็นเพื่อนสนิท และคู่ขวัญในวงการ จนในปี 1909 ทั้งสองเขียนหนังสือร่วมกันน เพื่อเผยแพร่เรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับการร้องเพลง ชื่อว่า "Caruso and Tetrazzini on the Art of Singing" 

"Caro nome": About

"Caruso and Tetrazzini on the Art of Singing" 

เป็นหนังสือเกี่ยวกับการร้องเพลงที่สองเพื่อนรัก คารูโซและเตตราซซินี เขียนร่วมกัน โดยครึ่งเล่มแรกเตตราซซินีเขียนเกี่ยวกับเทคนิคการร้อง เช่นการหายใจ การผลิตเสียง การซ้อมหน้ากระจก เป็นต้น และครึ่งเล่มหลังคารูโซเขียนเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนขึ้นแสดง และการ    ออกอัขระ เป็นต้น โดยต้นฉบับเขียนในภาษาอิตาเลี่ยน


ในปัจจุบันมีการเผยแพร่ฉบับแปลภาษาอังกฤษโดยสำนักพิมพ์โดเวอร์ (Dover Publications)

images.jpeg
"Caro nome": Image

คลิปเสียงของ Luisa Tetrazzini ในบทอาเรีย Caro nome
จากอุปรากรเรื่อง Rigoletto โดย Giuseppe  Verdi

"Caro nome": Video

Experiment

รวบรวมข้อความสำคัญจากหนังสือ "Caruso and Tetrazzini on the Art of Singing"

เพื่อนำมาทดลองฝึกซ้อม

There is only one way to sing correctly, and that is to sing naturally, easily, comfortably.

Some of the greatest teachers in the world reach this point apparently by diverging roads.

การหายใจ

-Exhale slowly and feel as if you were pushing the air against your chest. If you can get this sensation later when singing it will help you very greatly to get control of the breath and to avoid sending too much breath through the vocal chords.

-In singing I always feel as if I were forcing my breath against my

chest, and, just as in the exercises according to Delsarte you will find

the chest leads in all physical movements, so in singing you should feel

this firm support of the chest of the highest as well as the lowest

notes.

-Open the throat wide and start your note by the pressure breath. The physical sensation should be first an effort on the part of the diaphragm to press the air up against the chest box, then the sensation of a perfectly open throat, and, lastly, the sensation that the air is passing freely into the cavities of the head.

การผลิตเสียง

-In practicing the trill or staccato tones the pressure of the breath

must be felt even before the sound is heard. The beautiful, clear,

bell-like tones that die away into a soft piano are tones struck on the

apoggio and controlled by the steady soft pressure of the breath emitted

through a perfectly open throat, over a low tongue and resounding in the

cavities of the mouth or head.

-A vocal register is a series of tones which are produced by a certain position of the larynx, tongue and palate. In the woman's voice the middle register takes in the notes from E on the first line of the staff about to middle C. The head voice begins at middle C and runs up sometimes to the end of the voice, sometimes to B flat or C, where it joins the second head register, which I have heard ascend into a whistle in phenomenal voices cultivated only in this register and useless for vocal work.

การสำรวจร่างกาย

-The jaw is attached to the skull right beneath the temples in front of the ears. By placing your two fingers there and dropping the jaw you will find that a space between the skull and jaw grows as the jaw drops.

The mouth must remain the same, and the jaw must ever be relaxed, whether the song is one of deep intensity or a merry scale of laughter.

The mouth in singing should always smile lightly. This slight smile at once relaxes the lips, allowing them free play for the words which they and the tongue must form and also gives the singer a slight sensation of uplift necessary for singing.

-In singing rôles of songs it is necessary to practice before the mirror in order to see that this facial expression is present and that it is not exaggerated; that the face is not contorted by lines of suffering or by the lines of mirth.

"Caro nome": List

Caro nome

from opera "Rigoletto" 

by Giuseppe Verdi

"Caro nome": Text
"Caro nome": Video

Bibliography

images.jpeg

Live about dot com > Entertainment  > Music > Synopsis of Verdi's Opera 'Rigoletto'

Unknown.jpeg

Britannica > Rigoletto > Background

images.jpeg

Internet archive > Caruso and Tetrazzini on the Art of Singing

LuisaTetrazzini_edited_edited.jpg

Youtube > Caro nome > Tetrazzini

"Caro nome": Reviews
bottom of page