top of page

การสำรวจร่างกาย

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่นักร้องควรเรียนรู้ เพราภาษาร่างกายเป็นสิ่งที่ตอบเราได้ดีที่สุด ว่าสิ่งที่เรากำลังทำนั้นเหมาะสมกับร่างกายของเราหรือไม่ การขยายขีดจำกัดความสามารถของร่างกายใดๆก็ตาม ต้องทำด้วยความระมัดระวัง อยู่บนความเข้าใจ หมั่นสังเกต และวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงจะทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างมีคุณภาพ

สำหรับในหัวข้อนี้ ปัญหาของผู้วิจัยคือในบางครั้งไม่สามารถแยกเทคนิคการร้องออกจากการแสดงได้ ทำให้การแสดงไม่เต็มที่เท่าที่ควร เช่นในบางครั้งเมื่อเจอโน้ตยากๆ ก็เผลอแสดงความรู้สึกของตัวเองออกมา ทำให้รบกวนอารมณ์ที่ต้องการจะสื่อสารระหว่างแสดง 

ที่อีกด้านของการสำรวจร่างกายนอกจากเพื่อการแสดงแล้ว ในแง่ของเทคนิคก็จำเป็นเช่นกัน เช่นในเวลาที่ต้องใช้กำลังซัพพอร์ตมากๆ แต่ก็ต้องระวังให้ส่วนของกราม ริมฝีปาก กล้ามเนื้อบนใบหน้าและลำคอยังอยู่ในลักษณะที่ผ่อนคลาย เพื่อไม่ให้เสียงที่ออกไปแสดงความอึดอัดไปถึงผู้ฟัง

ในการฝึกเพื่อขยายขีดจำกัดความสามารถใดๆก็เช่นกัน หากทำแล้วรู้สึกเจ็บ หรือรู้สึกไม่ปกติ ก็จะต้องเริ่มคิดว่าเกิดจากการฝึกที่ผิด หรือฝึกถูกต้องแต่เกิดจากความไม่เคยชินของกล้ามเนื้อที่ไม่เคยใช้งานในจุดนี้มาก่อน สำหรับความรู้สึกที่ผู้วิจัยเคยพบมา คือเมื่อฝึกถูกต้อง อาจมีการล้ากล้ามเนื้อบริเวณที่ฝึกซ้อม เช่นกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง หรือที่เส้นเสียง แต่เมื่อพักซักครู่ อาการเหล่านั้นจะค่อยๆดีขึ้นและหายไป และเมื่อทำซ้ำอีกในครั้งต่อไปก็จะเริ่มทำได้นานขึ้นเรื่อยๆ แตกต่างจากเวลาที่ฝึกผิดวิธี กล้ามเนื้อจะบาดเจ็บเป็นเวลานาน บางครั้งอาจรู้สึกนานถึง 3 สามวันหรือเป็นอาทิตย์กว่าจะกลับมาเป็นปกติ อาจเกิดจากการใช้ผิดวิธี หรือใช้งานหนักจนเกินไปก็ได้เช่นกัน


เพราะการร้องเพลงก็เหมือนการออกกำลังกาย ต้องมีการเตรียมร่างกายให้พร้อม ต้องมีการฝึกฝนกล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้น และแน่นอนว่าเมื่อทำผิดก็จะเกิดการบาดเจ็บได้เช่นกัน

การสำรวจร่างกาย: Text

Experiment

การสำรวจร่างกาย: Text
Screen Shot 2563-04-19 at 16.13.28.png

ประโยคเพลงในกรอบสีแดงต้องใช้การซัพพอร์ตที่มากกว่าปกติ เพื่อให้ได้เสียงร้องที่ออกมาแล้วฟังสบาย สดใส เหมือนนกร้องในตอนเช้า แต่การจะผลิตเสียงออกมาให้เป็นไปตามที่อยากได้นั้น ยังต้องอยู่บนเทคนิคที่ดี เพื่อรักษาลักษณะเฉพาะของการร้องอุปรากร ซึ่งแตกต่างกับการร้องในแบบอื่นๆ ก็คือการร้องปากเปล่า ใช้ร่างกายในการผลิตเสียง และให้ความสำคัญกับการก้องสะท้อนของเสียงกับสถานที่นั้นๆ รวมไปถึงต้องร้องให้ดังมากพอที่จะสู้กับวงดนตรี แต่ต้องป็นความดังที่ไม่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าไม่ไพเราะ ฟังแล้วเหมือนตะโกน หรือฟังแล้วอึดอัดอีกเช่นกัน (ซึ่งสำหรับตัวผู้วิจัยเองยังไม่เคยมีโอกาสร้องกับวงขนาดใหญ่ จึงยังไม่มีประสบการณ์โดยตรงที่จะบอกได้ว่าอะไรคือความพอดี แล้วต้องฝึกอย่างไร จึงจะพอดี) 

โน้ตลักษณะแบบในกรอบสีแดงนี้ จำเป็นต้องใช้แรงดันลมที่มาก แต่เคลื่อนที่ช้า ใช้การสนับสนุนของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง และกล้ามเนื้อหน้าท้องส่วนล่าง (ท้องน้อย) มากขึ้น เพื่อผลิตเสียงที่มีความแข็งแรง แต่ก็มีลักษณะต่อเนื่องกันอย่างราบเรียบ ไม่ให้ฟังแล้วรู้สึกถึงความยากลำบากในการร้องโน้ตขั้นคู่กว้างต่อๆกัน ส่วนในบรรทัดที่สองก็ต้องทำให้โน้ตโครมาติกนั้นมีการเคลื่อนไหวไปอย่างสวยงาม จึงต้องรักษาระบบซัพพอร์ตให้ดีเช่นเดียวกัน ซึ่งจริงๆแล้วหลังจากตัวอย่างที่ตัดมาให้ชมนี้ บทเพลงส่วนต่อไปก็เป็นจุดที่ต้องใช้เทคนิคหลากหลาย และต้องฝึกความแม่นยำ เพื่อให้สามารถร้องต่อเนื่องกันได้โดยไม่ติดขัด เมื่อมีความยากเกี่ยวกับเทคนิคการร้อง และการซัพพอร์ตที่มากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับกราม ลำคอและกล้ามเนื้อบนใบหน้าที่มักจะเกร็ง ไม่ผ่อนคลาย เป็นอุปสรรคในการร้องให้ได้เสียงที่ฟังแล้วสบาย จึงต้องคอยสำรวจว่ากรามล็อคเกร็งหรือไม่ วิธีการคือใช้สองนิ้วจับข้างใบหูด้านหน้า อ้าปากให้เกิดช่องว่างระหว่างกรามบนและกรามล่าง และควรรักษาให้อยู่ในลักษณะนี้ได้มากที่สุดตลอดการร้องเพลง เพื่อให้เสียงผ่านออกมาได้อย่างสะดวก และกังวาล

นอกจากฝึกสำรวจร่างกายเพื่อประโยชน์ในการร้องแล้ว การฝึกร้องเพลงและแสดงหน้ากระจกก็ช่วยให้เราสังเกตตัวเองได้ดีขึ้น ว่าเราแสดงได้เหมือนแบบที่เราต้องการในความคิดหรือไม่ ดูดีหรือไม่ต่อผู้ชม สื่อสารได้ชัดเจนมากพอหรือไม่ และยังทำให้สร้างเสริมความมั่นใจให้ตัวเองได้อีกด้วย

การสำรวจร่างกาย: List
bottom of page