top of page

  

"Der Hölle Rache kocht in meinem Herzen"

From Mozart's opera "Die Zauberflöte"

c45e1e6d99e4ec5947cbd74e8746cb99.jpg
"Der Hölle Rache kocht in meimem Herzen": Projects

Die Zauberflöte
(ขลุ่ยวิเศษ)

The Magic Flute (German: Die Zauberflöte), K. 620, is an opera in two acts by Wolfgang Amadeus Mozart 

to a German libretto by Emanuel Schikaneder

- Tamino (ทามิโน) - Tenor

- Pamina (พามินา) - Soprano

- Der Königin die Nacht (ราชินีแห่งรัตติกาล) - Coloratura Soprano

- Sarastro (ซารัสโตร) - Bass

- Papageno (ปาปากีโน) - Baritone

- Papagena (ปาปากีนา) - Soprano

- Monostratos (โมโนสตราโตส) - Tenor

- Drei Damen (แม่มดทั้งสาม) - Soprano

- Drei Knaben (จีนีน้อยทั้งสาม) - Boy Soprano

ณ ดินแดนวิเศษระหว่างพระจันทร์และพระอาทิตย์ เจ้าชายทามิโนเดินหลงทางเข้าไปในป่า จนเป็นเหตุให้พบกับราชินีแห่งรัตติกาลและแม่มดรับใช้ทั้งสามของนาง แม่มดรับใช้ทั้งสามเอารูปเจ้าหญิงพามินาใหทามิโนดูพร้อมเล่าเรื่องที่เจ้าหญิงถูกจับตัวไปให้ฟัง ทามิโนเกิดหลงรักนางตั้งแต่แรกเห็น ราชินีจึงขอร้องให้ทามิโนไปช่วยพามินา พร้อมทั้งให้ขลุ่ยวิเศษแก่ทามิโนเป็นเครื่องป้องกันตัว และมีปาปากีโนไปเป็นเพื่อน


ที่วิหารของซารัสโตร เจ้าชายและปาปากีโน แยกกันตามหาเจ้าหญิงพามินา ปาปากีโนเป็นคนเจอเจ้าหญิง ส่วนทามิโน ได้พบกับจีนีน้อยน้อยสามองค์ ทั้งสามให้คำชี้แนะแก่ทามิโนในการช่วยพามีนา ระหว่างที่ปาปากีโนหาทางพาเจ้าหญิงมาพบทามิโน

แต่ซารัสโตรก็ปรากฏตัวขึ้น พอดีกับที่แขกมัวร์มโนสตราโตสจับตัวทามิโนได้

เมื่อพามินาและทามิโนเจอกัน ก็โผเข้ากอดกันต่อหน้าคณะนักบวชทันที ซารัสโตรจึงประกาศว่า ทั้งสองสมควรได้ครองรักกัน แต่ต้องผ่านกระบวนการทดสอบก่อน โดยสั่งห้ามไม่ให้พูดกับใคร ทำให้พามินาเข้าใจว่าทามิโนหมดรักแล้ว เลยคิดจะฆ่าตัวตาย แต่จีนีน้อยสามตนก็มาห้ามไว้ได้ทัน สุดท้ายทั้งสองจึงผ่านการทดสอบ และได้ครองรักกันในที่สุด

"Der Hölle Rache kocht in meimem Herzen": About
th.jpg

Background

อุปรากรเรื่อง Die Zauberflöte หรือ ขลุ่ยววิเศษนี้ โมสาร์ทและเพื่อนของเขา เอมานูเอล  ชิคาเนเดอร์ (Emanuel Schikaneder) ผู้ประพันธ์บทร้อง บทละคร และยังเป็นผู้แสดงต้นฉบับในบทปาปากีโนอีกด้วย ทั้งสองตั้งใจประพันธ์อุปรากรเรื่องนี้เพื่อแฝงคติสอนใจ และแฝงสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Freemason หรือ องค์กรภราดรภาพฟรีเมสันไว้หลากหลาย รวมไปถึงพิธีกรรมที่เชื่อว่าเป็นการเข้าร่วมกับองค์กรฟรีเมสันนี้ด้วย เช่น สัญลักษณ์เลข 3 ที่พบในเรื่อง อย่าง แม่มด 3 คน จินี่ 3 ตัว บททดสอบ 3 ด่าน ประตู 3 บาน แม้กระทั้งในบทโหมโรง (Overture) ที่อยู่ในบันไดเสียง
อีแฟล็ต เมเจอร์ ที่มี 3 แฟล็ต ซึ่งเป็นบันไดเสียงแห่งความรักในความหมายทางด้านดนตรี (บทอาเรียที่ทามิโนร้องตอนตกหลุมรักพามินาก็ถูกประพันธ์บนบันไดเสียงอีแฟล็ตเมเจอร์เช่นกัน) มีความเชื่อกันว่าเลข 3 เป็นตัวแทนของความสมดุล เป็นเลขแห่งพระตรีเอกภาพในศาสนาคริสต์และเป็นเลขที่มีควาสำคัญต่อองค์กรฟรีเมสัน ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างกันในกลุ่ม ซึ่งได้แก่ ผู้ถ่ายทอด ผู้เรียนรู้ และเพื่อน และบททดสอบ 3 ด่านที่ทามิโน่ต้องผ่านในเรื่องนั้น ก็เชื่อกันว่าเป็นพิธีเพื่อผ่านเข้าองค์กรฟรีเมสันด้วยเช่นกัน โดยตอนที่ทามิโนต้องเก็บวาจาไม่พูดกับใคร แสดงถึงการห้ามนำเรื่องภายในองค์กรออกไปแพร่งพรายด้วยเช่นกัน

"Der Hölle Rache kocht in meimem Herzen": About
"Der Hölle Rache kocht in meimem Herzen": Video
download-1.jpg

Die Königin der Nacht

Die Königin der Nacht , Queen of the night หรือในชื่อภาษาไทยว่า ราชินีแห่งรัตติกาลในเรื่อง

ได้รับแรงบัลดาลใจมาจาก Maria Theresa Walburga Amalia Christian ซึ่งเป็นราชินีองค์เดียวและองค์สุดท้าย

ในราชวงค์ฮาปสบัวร์ก (Habsburg) แห่งจักรวรรดิ์ออสเตรีย และได้รับแต่งตั้งเป็น Holy Roman Empress หลังจากแต่งงานกับ Francis I ซึ่งเป็น  Holy Roman Emperor 

พระนางมีแนวคิดต่อต้านองค์กรฟรีเมสัน เนื่องจากเป็นผู้นำศาสนาคริสเตียน นิกายคาทอลิค และไม่เชื่อในการเปิดรับองค์ความรู้เสรี จึงมีข้อสันนิษฐานว่า โมสาร์ทนำพระนางมาเป็นต้นแบบในการสร้างตัวละครราชินีแห่งรัตติกาล

ข้อสันนิษฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวละครราชินีแห่งรัตติกาลคือ มีการนำภาพและรูปลักษณ์จากหนึ่งในไพ่ทาโร่ในสมัยนั้น ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากสัญลักษณ์อียิปต์โบราณ (ซึ่งองค์กรฟรีเมสันเองก็ใช้สัญลักษณ์สำคัญต่างๆด้วยการรับอิทธิพลอียิปต์โบราณเช่นกัน) ชื่อ The high priestess เพื่อมาสร้างเป็นตัวละครราชินีแห่งรัตติกาล

ซึ่งมีบุคลิกเป็นราชินีผู้เย่อหยิ่งและชั่วร้าย

"Der Hölle Rache kocht in meimem Herzen": About

Der Hölle Rache kocht in meinem Herzen

from Mozart's opera "Die Zauberflöte"

บทอาเรีย "Der Hölle Rache" อยู่ในองก์ที่ 2 ของอุปรากร เป็นตอนที่ราชินี หรือที่เรารู้จักกันในฉายา "Queen of the night" มอบกริดและสั่งให้พามิน่า ลูกสาวของเธอไปฆ่าซารัสโตร เพื่อนำลูกแก้ววิเศษกลับมาให้นาง

German

Der Hölle Rache kocht in meinem Herzen,
Tod und Verzweiflung flammet um mich her!
Fühlt nicht durch dich Sarastro
Todesschmerzen,
So bist du meine Tochter nimmermehr.
Verstossen sei auf ewig,
Verlassen sei auf ewig,
Zertrümmert sei'n auf ewig
Alle Bande der Natur
Wenn nicht durch dich!
Sarastro wird erblassen!
Hört, Rachegötter,
Hört der Mutter Schwur!

English

The vengeance of Hell boils in my heart,
Death and despair flame about me!
If Sarastro does not through you feel
The pain of death,
Then you will be my daughter nevermore.
Disowned may you be forever,
Abandoned may you be forever,
Destroyed be forever
All the bonds of nature,
If not through you
Sarastro becomes pale!
Hear, Gods of Revenge,
Hear a mother's oath!

Thai

ความแค้นในก้นบึ้งหัวใจของข้ามันคุกรุ่น
ความตายและความสิ้นหวังลุกโชนอยู่รอบตัวข้า
ถ้าซารัสโตรไม่ได้รับรู้ถึงความเจ็บปวดจากรสชาติแห่งความตาย
เจ้าก็ไม่ต้องมาเรียกข้าว่าแม่อีกต่อไป
ตัดขาดกันตลอดกาล
เป็นกำพร้าตลอดกาล
ถูกทำลายไปจนสูญสิ้น
หมดสิ้นสายสัมพันธ์เช่นแม่ลูก
ต่อให้เจ้าไม่ทำ
ซารัสโตรก็ต้องตายอยู่ดี
จงฟัง คำสาปแช่งของข้า
จงฟัง คำสาปแช่งของข้า!

"Der Hölle Rache kocht in meimem Herzen": List

From Singspiel to Opera

อุปรากรเรื่อง Die Zauberflöte หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า The Magic flute นี้ ในตอนแรกโมสาร์ทตั้งใจแต่งให้เป็นละครเพลง (Singspiel *) แต่ปัจจุบันเรารู้จักละครเรื่องนี้ในรูปแบบของอุปรากร เนื่องมาจากความก้าวหน้าของสถาปัตยกรรม ทำให้มีโรงละครที่ใหญ่ขึ้น Singspiel จึงถูกนำไปเล่นในโรงละครที่ใหญ่ขึ้น และจึงจำเป็นต้องพัฒนาขยายขอบเขตของการแสดงขึ้นไปด้วยเช่นกัน ส่งผลไปถึงเทคนิคการร้อง การพูด การแสดงและองค์ประกอบของฉาก ชุดแสดงที่ใหญ่ขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับสถานที่ ทำให้ Singspiel บางเรื่องที่เป็นที่นิยม เช่น Die Entführung aus dem Serail และ Die Zauberflöte ถูกนับว่าเป็นอุปรากรไปในที่สุด ซึ่งถูกประพันธ์โดยโมสาร์ทเช่นกันทั้งสองเรื่อง *Singspeil คือละครร้องในประเทศเยอรมันนี พัฒนามากจาก opera buffa ของอิตาลี ซึ่งใช้การร้องตลอดทั้งเรื่อง แต่เมื่อเยอรมันรับแนวคิดนี้มาก็ได้เพิ่มบทพูดเข้าไประหว่างเพลง
แล้วเรียกว่า Singspiel แทน (ในฝรั่งเศษก็รับแนวคิดจากเยอรมันและอิตาลีไปเช่นกัน จึงมีละครร้องเหมือนในเยอรมัน แต่ใช้ชื่อเรียกว่า opera comique)

"Der Hölle Rache kocht in meimem Herzen": Text

ตัวอย่างแรกนี้ผู้แสดงเป็นราชินีแห่งรัตติกาลคือ Natalie Dessay นักร้องเสียง coloratura soprano ชาวฝรั่งเศษ โดยในการแสดงนี้ เธอถ่ายทอดตัวละครราชินีแห่งรักติกาลออกมา
ในรูปแบบของ "ราชินี" ที่แม้ว่าจะดูชั่วร้าย เป็นแม่ที่ใจร้าย แต่ยังสัมผัสได้ถึงความเป็นมนุษย์จากการแสดงของเธอ คล้ายกับที่โมสาร์ทตั้งใจสร้างตัวละครราชินีแห่งรัตติกาลนี้ขึ้นมาโดยมีต้นแบบมาจากพระนางมาเรีย เทเรซา แห่งฮาปสบัวร์ก

"Der Hölle Rache kocht in meimem Herzen": Video

ตัวอย่างที่สองนี้เป็นผลงานของ Diana Damrau นักร้องเสียง Coloratura soprano ชาวเยอรมัน การแสดงของเธอนั้นให้ความรู้สึกที่แตกต่างไปจากตัวอย่างแรก เพราะความร้ายกาจที่เธอถ่ายทอดออกมา รวมถึงการแต่งกายของเธอและองค์ประกอบของฉากนั้นทำให้รู้สึกถึงพลังอำนาจที่ชั่วร้ายกว่ามนุษย์ปกติ ทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าเธอเป็นนางพญาปีศาจ มากกว่าแค่ราชินีที่เป็นแม่ใจร้ายเหมือนอย่างในตัวอย่างแรก

"Der Hölle Rache kocht in meimem Herzen": Video

ตัวอย่างนี้แสดงโดย Erika Miklósa นักร้องเสียง coloratura soprano ชาวฮังการี ที่ฉีกแนวการใส่ชุดราตรีเป็นราชินีผู้สูงศักดิ์ มาเป็นมนุษย์กลายพันธ์ุในโลกไซเบอร์ ตัวพามินาลูกสาวก็แต่งตัวทะมัดทะแมง ดูไม่เป็นเจ้าหญิงผู้บอบบางเหมือนที่เคย เนื้อเรื่องโดยรวมนั้นก็ไม่ได้ถูกกำหนดที่อยู่ไว้ที่ป่าลึกลับเหมือนในต้นฉบับ แต่ดูเหมือนอยู่ในโลกของสมองกล จากการแย่งชิงของวิเศษ กลายเป็นการพยามทดลองวิทยาศาสตร์ที่ผิดต่อศีลธรรมแทน

ในการร้องผู้วิจัยรู้สึกว่านอกจากความชั่วร้ายที่แสดงออกมา ในตัวอย่างนี้ทำให้รู้สึกถึงความร้อนรน เร่งรีบมากกว่าในตัวอย่างที่ผ่านมาอีกด้วย

"Der Hölle Rache kocht in meimem Herzen": Video

ตัวอย่างที่ 5 แสดงโดย Olga Pudova นักร้องเสียง soprano ชาวรัสเซีย โดยเธอแสดงเป็นแมงมุม แทนที่จะเป็นราชินีแห่งรัตติกาล ส่วนพามินาลูกสาวก็กลายเป็นเด็กหญิงธรรมดา ที่วิ่งหนีแมมมุงด้วยความหวาดกลัว แสดงให้เห็นถึงคาแรคเตอร์ตัวร้ายของบทเพลงที่ถูกสื่อสารออกมาในอีกมุมมองหนึ่ง แต่ยังรักษาหัวใจของเพลงเอาไว้

"Der Hölle Rache kocht in meimem Herzen": Video

ตัวอย่างที่ 5 จากวงดนตรีชื่อว่า Mayan ที่นำเพลงงนี้มานำเสนอในรูปแบบของดนตรีร๊อคได้อย่างน่าประทับใจ โดยยังคงคาแรคเตอร์ความเป็นตัวร้ายเอาไว้ และสื่อสารออกมาได้อย่างน่าสนใจ

"Der Hölle Rache kocht in meimem Herzen": Video

ตัวอย่างที่ 6 นี้เป็นตัวอย่างที่นำบทเพลง Der Hölle Rache kocht in meinem Herzen มาเรียบเรียงใหม่ทั้งหมด เหลือไว้เพียงแค่คำร้องเท่านั้น แต่ตัวดนตรี ทำนอง แม้กระทั่งทำนองหลักที่สำคัญอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของเพลงนี้ก็ได้ถูกตัดออกไปทั้งหมดเช่นกัน 
ผู้วิจัยจึงมีความเห็นว่าบทเพลง Der Hölle Rache kocht in meinem Herzen ฉบับนี้ ไม่สามารถสื่อสารความหมายของบทเพลงออกมาได้ เหมือนเป็นแค่การยืมเนื้อเพลงมาใช้เฉยๆเท่านั้น แต่ละทิ้งหัวใจสำคัญของเพลงไปทั้งหมด

"Der Hölle Rache kocht in meimem Herzen": Video

ตัวอย่างที่ 7 เป็นการใช้ทำนองหลักที่เป็นเอกษณ์ของบทเพลงมาเรียบเรียงใหม่เพื่อประกอบการ์ตูนสำหรับเด็ก เรื่อง Adventure Time จากช่องCartoon Network ในประเทศสหรัฐอเมริกา 
ผู้วิจัยมีความเห็นว่าผลงานชิ้นนี้จงใจยืมทำนองหลักมาเพื่อจุดประสงค์อื่นที่แตกต่างจากหัวใจหลักของเพลงไปอย่างชัดเจน เชื่อว่าอาจเป็นเพราะทำนองหลักมีความโดดเด่น
ฟังแล้วติดหู จึงถูกเลือกมาใช้ในสถานการณ์นี้

"Der Hölle Rache kocht in meimem Herzen": Video

ตัวอย่างที่ 8 เป็นการผิวปากกับเปียโนประกอบรูปแบบเดียวกับที่มักจะเห็นนักร้องกับเปียโนตามปกติ โดย Michael Barimo นักผิวปากมืออาชีพ ในการแสดงเมื่อปี 2011 ที่นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ซึ่งในฉบับนี้ผู้วิจัยมีความเห็นว่า คาแรคเตอร์ของบทเพลงยังถูกรักษาไว้ ถึงแม้จะไม่มีคำร้องก็ตาม แต่ด้วยการสื่อสารอารมณ์เพลงออกมาผ่านการเก็บรายละเอียดในเรื่องของสำเนียง (articulation) ทำให้รู้สึกเหมือนฟังนกตัวเล็กๆขี้โมโหกำลังบ่นอะไรซักอย่างอยู่
คาแรคเตอร์ "ตัวร้าย" จึงไม่จำเป็นต้องยิ่งใหญ่เสมอไป อาจจะเป็นแค่สิ่งเล็กๆ แต่สื่อสารความรู้สึกเดียวกันออกมาก็เป็นไปได้เช่นกัน

"Der Hölle Rache kocht in meimem Herzen": Video
15 Top Selling Benjamin Moore Paint Colo

The Commonality

ด้วยความที่บทอาเรีย Der Hölle Rache kocht in meinem Herzen นี้ เป็นบทร้องยอดฮิตบทนึงในบรรดาลผลงานของโมสาร์ทที่เรายังมักจะนำออกแสดงอยู่เรื่อยๆมานับร้อยปีแล้วนั้น ทำให้บทเพลงถูกตีความและนำเสนอในรูปแบบใหม่ ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ ไปตามกาลเวลา ตั้งแต่ภาษา จากต้นฉบับที่เป็นภาษาเยอรมัน ในปัจจุบันเราก็สามารถพบบทร้องนี้ในภาษาอื่น ๆ เช่น อิตาเลี่ยน ภาษาอังกฤษ เป็นต้น 


การตีความบทบาทของตัวละครหลักที่แตกต่างออกไป รูปแบบของฉาก และเสื้อผ้า ที่ทำให้การอ้างอิงไปถึงภูมิหลังของตัวละคร และสถานที่เกิดเหตุถูกเปลี่ยนไปจากต้นฉบับ ที่จากเดิมกำหนดให้เหตุการณ์เกิดในป่าลึกลับและปราสาทของซารัสโตร ซึ่งได้แรงบัลดาลใจมาจากอิทธิพลของยุคอียิปต์โบราณ แต่ในปัจจุบันเราสามารถพบเห็นอุปรากรณ์เรื่องนี้บนการตีความที่มา (Setting) ที่อยู่นอกโลก ตัวละครทั้งหลายกลายเป็นมนุษย์ต่างดาว หรือเป็นเรื่องราวของทหาร แล้วแต่ใครจะตีความไปอย่างหลากหลาย สามารถดูตัวอย่างเพิ่มเติมได้ที่ด้านล่าง

ในเรื่องของดนตรี ซึ่งแต่เดิมบทเพลงถูกเขียนเอาไว้สำหรับวงออเครสตร้า แต่ปัจจุบัน นอกจากการย่อส่วนมาเหลือแค่ร้อง กับเปียโนแล้ว เรายังสามารถพบเห็นบทอาเรีย Der Hölle Rache นี้

ในเวอร์ชั่น Rock, Matal, Jazz หรือแม้กระทั่งเอาไปทำเป็นเพลงน่ารักๆประกอบการ์ตูนสำหรับเด็กเลยก็มี


ส่วนตัวละคร Die Königin der Nacht หรือ Queen of the night นี้ แค่ฉายา "ราชินีแห่งความมืด" ก็พอจะทำให้เราเดาไปถึงลักษณะนิสัยของนางได้แล้วว่าเป็นยังไง ส่วนชื่อควีนก็บ่งบอกรูปลักษณ์และฐานะอันสูงศักดิ์ของนาง ตามข้อมูลด้านบนเราก็จะเห็นว่า ต้นฉบับตั้งใจให้ตัวละครนี้มีลักษณะเป็นราชินีที่ชั่วร้าย ในปัจจุบันเราสามารถพบกับนางได้ในเวอร์ชั่นที่ต่างออกไป เช่นทหารหญิง มนุษย์ต่างดาว นักร้องร๊อค หรือแม้แต่ในรูปแบบของโครงกระดูกเดินได้เลยก็มี 

แต่สิ่งนึงที่ยังคงอยู่มานับร้อยๆปีแล้วนั้น คือลักษณะอารมณ์เกรี้ยวกราด โมโหร้าย ความชั่วร้าย การพยามกดขี่ การอยากเอาชนะ แสดงความเป็นใหญ่เหนือกว่าผู้อื่นของตัวละครตัวนี้ ที่ไม่ว่ารูปลักษณ์ภายนอกจะเปลี่ยนไปมากมายเพียงใด แต่การตีความเพื่อสื่อสารเจตนารมณ์ของตัวละครยังเหมือนเดิม เราอาจจะเห็นนางในเวอร์ชั่นที่โมโหร้าย หรือโรคจิต จะโวยวายหรือนิ่ง ๆ ก็ตาม เช่นหากอยู่ในการแสดง เราก็จะเห็นตัวละครนี้พยามบีบบังคับให้พามินาทำตามคำสั่งของเธอ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ส่วนในการนำแค่บทเพลงนี้ไปแสดงในรูปแบบอื่นๆ ก็จะเห็นว่าผู้แสดงตีความตัวเองออกมาในรูปแบบของ "ตัวร้าย" เสมอ ไม่มีการตีความไปในแง่ดีเลย 

อีกหนึ่งเหตุผลที่สนันสนุนคาแรคเตอร์ตัวร้ายนี้ได้เป็นอย่างดีก็คือ การเลือกที่จะแต่งเพลงนี้

บนบันไดเสียง ดี ไมเนอร์ ของโมสาร์ท เนื่องจากโมสาร์ทนั้นมักจะแฝงปรัชญาและสัญลักษณ์ต่างๆไว้ในบทเพลง อย่างที่ได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้ เช่นการใช้บันไดเสียง อีแฟล็ต เมเจอร์ ซึ่งเป็น

บันไดเสียงของความรักในบทอาเรียของทามิโน ที่ร้องหลังจากเห็นรูปภาพของพามินาเป็นต้น รวมถึงยังมีอีกหลายบทเพลงที่มีความสอดคล้องระหว่างความหมายของแต่ละบันไดเสียงกับเนื้อหาในเพลงของโมสาร์ท ซึ่งบทเพลงนี้ก็เช่นกัน เนื่องจากบันไดเสียง ดี ไมเนอร์นี้หมายถึงอารมณ์ของความเป็นหญิง ความโกรธ ความเศร้า และความเสียใจ ซึ่งตรงกับความหมายและอารมณ์

ของบทอาเรียนี้อย่างเหมาะเจาะ

บนความเปลี่ยนแปลงมากมายที่ผ่านกาลเวลามากว่าร้อยปีนั้น ทำให้เกิดความหลากหลายในการตีความและนำเสนอบทเพลง แต่สิ่งที่ตัวผู้วิจัยสังเกตเห็นว่ายังคงอยู่เสมอ ไม่เปลี่ยนไปตามกาลเวลานั้นก็คือคาแรคเตอร์ของบทเพลงที่แสดงออกถึงความเป็นตัวร้าย จะสังเกตได้ว่ามีผลงานบางชิ้นที่นำบทเพลงนี้ไปตีความใหม่ (ดังตัวอย่างด้านบน) แต่ไม่ได้คงแก่นของคาแรคเตอร์ตัวร้ายไว้ในบทเพลง ทำให้บทเพลงไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ คือไม่สามารถสื่อสารอารมณ์ที่เป็นหัวใจสำคัญของเพลงออกมาได้ หรือบางตัวอย่างที่เลือกใช้เพียงแค่ทำนองหลักที่โดดเด่นของบทเพลงมาใช้เพื่อแสดงออกถึงจุดประสงค์อื่นไปเลยก็มีเช่นกัน

 เมื่อเวลาเปลี่ยนไป การจะเป็นตัวร้าย ก็เปลี่ยนไปได้ด้วยเช่นกัน ไม่ได้จำเป็นต้องเป็นควีน แค่ในแบบที่โมสาร์ทกำหนดไว้ เพราะต่อให้เราศึกษาจนเข้าใจว่าในต้นฉบับนั้นคือควีนแบบไหน ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะสามารถเป็นควีนในแบบนั้นได้ และไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้น สิ่งที่จะทำคือเข้าใจว่าโมสาร์ทและชิคาเนเดอร์ต้องการควีนแบบไหน ดนตรี บทเพลง คำร้อง และการแสดงทำงานอย่างไร เพื่อร่วมกันส่งผ่านอารมณ์นั้น แล้วดูว่า ถ้าเราจะเปลี่ยนมาเป็นในมุมมองของเรา ซึ่งไม่สามารถบอกลูกสาวไปฆ่าคนเพื่อขโมยของวิเศษได้ จะออกมาเป็นแบบไหน ถามว่าแสดงบทบาทสมมุติได้ไหม คำตอบคือควรจะทำได้ และถ้าต้องทำก็จะทำให้ได้ แต่คอนเซปที่ตัวผู้แสดงต้องการจะทำนั้นไม่ได้ต้องการจะเหมือน หรือเป็นควีนในแบบต้นฉบับ แต่อย่าเป็นควีนในแบบของตัวเอง แค่สื่อสารอารมณ์เดียวกันออกไปผ่านบทเพลงเดียวกัน แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นอารมณ์เดียวกันจากเหตุการณ์เดียวกันก็ได้ เหมือนกับให้ลองคิดดูว่า กี่ครั้งในชีวิตที่เรากินของอร่อย เรารู้สึกว่ามันอร่อยมากๆ จนเรายิ้มออกมา หรือทำให้เราคิดว่าอยากซื้อไปฝากแม่ หรือคนที่เราคิดถึง เมื่อสิบปีที่แล้วตอนเป็นเด็ก อาจจะเป็นเลย์รสใหม่ ที่ทำให้เรารู้สึกแบบนั้น แต่วันนี้เราก็ไม่ได้รู้สึกแบบนั้น กับเลย์รสนั้นอีกแล้ว แต่เราก็ไปรู้สึกแบบเดิมๆนี้ กับสิ่งอื่นๆอีกมากมาย ไม่ว่าจะกินของถูก หรือแพง ก็อาจจะทำให้เกิดความรู้สึกเดียวกันในช่วงเวลาที่ต่างไปได้ เพราะมุมมองชีวิต ประสบการณ์ชีวิตที่เปลี่ยนไป จึงทำให้คิดว่า การจะเป็นนักแสดงแล้ว ไม่ว่าจะกับดนตรีหรือกับอะไรก็ตาม อะไรที่มันไกลจากจินตนาการเราจะเอื้อมถึง อาจจะไม่ใช่คำตอบเสมอไป บางทีจินตนาการในแบบที่เราเข้าใจได้ดีที่สุด อินที่สุด ไม่ต้องมีใครรู้กับเราก็ได้ เพราะมันจะถูกแสดงออกมาผ่านการแสดงของเราเองในที่สุดอยู่ดี สำหรับเพลงที่นำมาใช้นี้ มาจากอุปรากร แต่ตั้งใจนำมาเสนอในรูปแบบคอนเสิร์ต เพื่อแสดงให้เห็นในอีกมุมมองว่า ไม่จำเป็นต้องแต่งตัวเป็นควีน ถือมีดแบบในโอเปร่า ก็สื่อสารความเป็นตัวร้ายผ่านบทเพลงนี้ออกมาได้เหมือนกัน

นิยามคำว่า The commonality ของตัวผู้วิจัยที่ให้กับเพลงนี้คือการคงแก่นความเป็นตัวร้าย เป็นวายร้ายไว้ให้กับบทเพลง แต่จะนำเสนอในรูปแบบใหม่ที่ตัวผู้วิจัยอยากทำ คือการเปลี่ยนส่วนของดนตรีประกอบ (accompaniment) จากเปียโน เป็นดนตรีอิเล็กโทรนิค โดยผู้เรียบเรียงและจะมาร่วมแสดงด้วยในบทเพลงนี้ คือ นายโสธีระ ชัยฤทธิไชย และนายแทนเทพ ชัยฤทธิไชย พี่ชายและน้องชายของผู้วิจัยเอง ซึ่งทั้งสองคนเป็นศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานเพลงไว้หลากหลายแนว


เนื่องจากผู้วิจัยใช้ชีวิตอยู่บนเส้นทางของดนตรีคลาสสิก แต่มีพี่ชายและน้องชายที่มีเส้นทางชีวิตกับดนตรีในแบบที่แตกต่างออกไป ทำให้แทบไม่มีโอกาสได้เล่นดนตรีร่วมกันมากนัก ผู้วิจัยจึงมีความต้องการที่จะนำเสนอนิยามของคำว่า The commonality สำหรับเพลงนี้ โดยการทำงานร่วมกันกับพี่น้องของตัวผู้วิจัยเอง ในแบบที่แต่ละคนถนัด เพื่อให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้นมาโดยที่ยังคงหัวใจสำคัญของเพลง คือคาแรคเตอร์ตัวร้ายเอาไว้


แต่จะออกมาเป็นอย่างไรนั้น สามารถรับชมได้ในคลิปด้านล่างนี้เลยค่ะ

"Der Hölle Rache kocht in meimem Herzen": About

Der Hölle Rache kocht in meinem Harzen

From opera Die Zauberflöle

by W. A. Mozart

"Der Hölle Rache kocht in meimem Herzen": Text
All Videos
Watch Now
"Der Hölle Rache kocht in meimem Herzen": Videos

บางครั้ง...คำว่าดนตรีควาสสิกอาจจะฟังดูยากเกินไปในยุคสมัยนี้

การเลือกวิธีนำเสนอใหม่ๆจึงเป็นทางเลือกเพื่อให้คนหันมาสนใจ

และเข้าถึงดนตรีคลาสสิกได้ง่ายขึ้น


การสร้างสิ่งใหม่ มิใช่เพื่อทดแทนของเก่าเสมอไป

หากแต่ในบางครั้งอาจเป็นตัวช่วยให้สิ่งๆนั้น

ดำรงอยู่คู่เวลาไปได้ในทุกยุคทุกสมัย

โดยเราสามารถคงวิถีเก่าเอาไว้

และค้นหาความเป็นไปได้ระหว่างอดีตกับปัจจุบันไปพร้อมๆกัน

เฉกเช่นต้นไม้ใหญ่เรียนรู้ที่จะผลัดใบ

เพื่อที่จะสามารถผลิบานได้อีกครั้งในเวลาอันสมควร

                                                  Woof Woofgang project

"Der Hölle Rache kocht in meimem Herzen": Text

Woof Woofgang project

เป็นชื่อที่ได้มาจากการเล่นคำกับชื่อของโมสาร์ท และชื่อของห้องอัดเสียงที่บ้าน

ในการแสดงพวกเราใช้วิธีเปิดแทร็กเพลงที่ทำเอาไว้แล้ว และเพิ่มการด้นสด (improvisation) ลงไป

ส่วนในการร้องก็เป็นการร้องสด เหมือนกับเวลาที่ร้องกับวงออเครสตร้า หรือเปียโน ใช้เทคนิคการร้องเหมือนเวลาร้องเพลงคลาสสิกทั่วไป 

โปรเจคนี้เป็นการผสมผสานระหว่างของดั้งเดิม และของใหม่ พวกเราหวังว่า จะได้มีโอกาสสร้างสรรค์ผลงานในลักษณะนี้อีก แล้วจะมาอัพเดทให้ฟังนะคะ ขอบคุณค่ะ

...
"Der Hölle Rache kocht in meimem Herzen": Text

Bibliography

images-1_edited.jpg

The Metropolitan Opera > Synopsis:Die Zauberflöte

th.jpg

ChotirosK > เจาะลึกมนต์ขลังเพลงขลุ่ยของโมสาร์ท - The Magic Flute, August19, 2014

download-1.jpg

Mozart's Magic flute diaries > Symbolism in Mozart’s The Magic Flute, by sullivan_admin, June13, 2014

c45e1e6d99e4ec5947cbd74e8746cb99.jpg

Aria Database > Der Hölle Rache kocht in meinem Herzen

c45e1e6d99e4ec5947cbd74e8746cb99.jpg

Emotions of the Musical Keys > Copyright Kevin Lessmann, 2004

"Der Hölle Rache kocht in meimem Herzen": Reviews
bottom of page